วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัยทอง



มักจะเป็นคำเรียกผู้ที่ก้าวเข้าสู่ช่วงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตจากวัยผู้ใหญ่ ไปเป็นผู้สูงอายุ โดยทั่ว ๆ ไปวัยทองจะเริ่มขึ้นเมื่อคนเรามีอายุ 40 ปีขึ้นไป หลาย ๆ คนไม่อยากจะก้าวเข้าสู่ช่วงของวัยทอง เพราะได้ยินได้ฟังมาว่า คนในวัยนี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ เกิดความหงุดหงิด ไม่สบายเนื้อสบายตัว จนทำให้คนรอบข้างต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงวัยทองได้ แต่เราก็สามารถที่จะอยู่ได้อย่างสุขสบายในวัยทอง ถ้ามีการปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้อง นพ.สมนิมิตร มีคำแนะนำสำหรับการก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ
หลาย ๆ มีความเข้าใจว่า วัยทองคือวัยหมดประจำเดือน แต่จริง ๆ แล้ววัยทองจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนหมดประจำเดือน โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 40-45 ปี และจะเกิดขึ้นกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้หญิงจะกลัวและวิตกกังวลกับการก้าวเข้าสู่วัยทองมากกว่า เพราะจะได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา เช่น เข้าวัยทองแล้วจะเร็ว ผิวพรรณจะหมองคล้ำ ไม่เต็งตึง พฤติกรรม อารมณ์เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีโรคร้ายต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า ซึ่งสิ่งที่ได้ยินต่อ ๆ กันมานี้ มีทั้งจริงและไม่จริง กรณีที่บางอย่างเป็นจริง ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเกิดขึ้นกับวัยทองทุก ๆ คน 
อาการ
ในระยะแรก ๆ ที่คนเราจะเข้าสู่วัยทอง จะมีอาการต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัด เช่นมีอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกผิดปกติทั้ง ๆ ที่อากาศไม่ร้อน นอกจากนี้บางคนจะหลงลืมง่าย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงอายุนั้น แต่บางคนก็เข้าสู่วัยทองโดยไม่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้เลย แต่พบน้อย
การเปลี่ยนแปลง 
สำหรับสิ่งที่เราพบได้บ่อยในความเปลี่ยนแปลงของหญิงวัยทองก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน โดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
  • ช่วงแรก
    อายุ 40-45 ปี ประจำเดือนจะมาเร็วขึ้น เช่นจากที่เคยมาทุกเดือน จะมาทุก ๆ 3 อาทิตย์ 
  • ช่วงที่ 2อายุประมาณ 45-50 ปี ระยะนี้ประจำเดือนจะเริ่มห่าง เช่นว่าบางคนเดือนครึ่งมาทีหนึ่ง บางคนอาจเป็น 2 เดือน 3 เดือน มาครั้งหนึ่ง
  • ช่วงที่ 3เป็นช่วงที่หมดประจำเดือนจริง ๆ อายุประมาณ 50 ปี ขึ้นไป ประจำเดือนจะหายไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราจะตัดสินว่าคน ๆ นั้นหมดประจำเดือนแล้วจริง ๆ ก็ต่อเมื่อประจำเดือนหายไปครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี 
ปัญหาทางร่างกายที่จะเกิดกับวัยทองจะมี 2 ระยะด้วยกันคือ
  • ผลระยะสั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงก้าวเข้าสู่วัยทอง จนกระทั่งหมดประจำเดือนไปแล้ว ช่วงนี้จะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากผิดปกติ มักเป็นตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยหน่าย หงุดหงิดง่าย ขี้กังวล นอนไม่หลับ หลงลืม 
  • ผลระยะยาวจะมี 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ โดยบางคนเมื่อหมดประจำเดือนไปนานแล้ว จะพบอาการต่าง ๆ เช่น ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะขัด อีกระบบหนึ่งเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มที่จะเป็นโรคดังกล่าว และระบบที่ 3 เกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน จะพบบ่อยกับผู้ที่หมดประจำเดือนแล้ว 5 ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยง
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคเหล่านี้ ไม่ได้เป็นกับทุกคน แต่จะเป็นกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น คนที่มีความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็จะเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง ซึ่งเสมือนเป็นปัจจัยเร่งนั่นเอง ส่วนภาวะกระดูกบางกระดูกพรุน ก็จะเสี่ยงในกลุ่มคนที่มีพันธุกรรมดังกล่าว ตลอดจนผู้ที่ทานอาหารแคลเซี่ยมน้อยมาเป็นเวลานาน เป็นต้น
การป้องกัน
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้หรือไม่นั้น เป็นคำถามที่มีผู้ถามกันบ่อยมาก จุดนี้ คำตอบคือเราสามารถทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว รวมไปถึงการพยายามรับประทานแคลเซี่ยมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการรับประทานแคลเซี่ยมนี้ เป็นเหมือนกับการฝากธนาคารไว้ก่อน เพราะเมื่อคนเราอายุ 35 ปีแล้ว แคลเซี่ยมในกระดูกจะเริ่มลดต่ำลง ถ้าเราฝากไว้เยอะ เวลาแคลเซี่ยมลดลงก็จะเหลือต้นทุนไว้เยอะ นอกจากนี้ พยายามดูแลตัวเองอย่าให้เป็นเบาหวาน ความดันสูง ด้วยการพยายามลดอาหารไขมันสูง ลดความอ้วน หรือถ้าใครเป็นโรคนี้อยู่ก็พยายามปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอเพื่อลดปัญหาลง
การดูแลรักษาอาการของคนวัยทอง
หลาย ๆ คนจะมีอาการทางด้านอารมณ์ในวัยทอง ซึ่งจริง ๆ แล้วการที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นผลกระทบมาจากการที่ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง ยิ่งถ้าหากคนรอบข้างไม่เข้าใจ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองมีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์มากขึ้นไปอีก 
ส่วนทางด้านร่างกายนั้น จะเป็นไปในรูปของการส่งเสริมสุขภาพมากกว่า อาจจะเข้าปรึกษาแพทย์ตามคลินิควัยทอง เพื่อรับคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นการให้ยารักษาเสมอไป ส่วนใหญ่เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจเลือดเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด การทำงานของตับไต การทำงานของหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติ ถ้าหากพบก็ต้องดูแลรักษาอาการเหล่านั้นต่อไป
การรับประทานฮอร์โมน
การเสริมฮอร์โมนนี้ จะเป็นฮอร์โมนที่เลียนแบบฮอร์โมนที่ผลิตมาจากรังไข่ เพราะวัยทองนี้เป็นวัยที่รังไข่ทำงานน้อยลงจนกระทั่งหยุดทำงานไป ไม่สร้างฮอร์โมนอีก เราจะใช้ฮอร์โมนจากภายนอนเข้าไปทำงานแทน โดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
คำถามที่ถามบ่อย
ถาม : อายุ 55 ปีแล้ว ยังมีประจำเดือนอยู่เลย จะมีปัญหาหรือไม่
ตอบ  : การที่เราอายุมาแล้ว ยังมีประจำเดือนอยู่นั่นหมายถึงเรายังมีระดับฮอร์โมนที่สูงพอ นับว่าเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ถ้าหากตรวจไม่พบความผิดปกติใด ๆ
ถาม : ผู้ชายวัยทอง ต้องระวังเรื่องอะไรเป็นพิเศษ
ตอบ : ควรระวังเรื่องของระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต และอาจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

ถาม :
 อาหารเสริมและวิตามินสำหรับวัยทองจำเป็นหรือไมตอบ : ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกมามาก แต่ในกรณีที่จะพิจารณาใช้ ควรมีหลักคิดอย่างหนึ่งว่า ต้องพิจารณาค่าใช้จ่าย เทียบกับอาหารธรรมชาติด้วย เพราะอาหารที่คนวัยทองต้องการนั้น สามารถหาได้จากธรรมชาติทั้งสิ้น
ถาม : ยาต้องห้ามสำหรับคนวัยทองตอบ สำคัญมาก ๆ ต้องระวังยาในกลุ่ม Steroid เพราะถ้าใช้ระยะยาวจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดภาวะกระดูกพรุนกระดูกบางได้ ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ซึ่งยาพวกนี้บางทีผสมในยาหม้อ ยาลูกกลอน 
โดย นพ.สมนิมิตร เหลืองรัศมีรุ่ง แพทย์สูตินารีเวช 

อาหารลดอาการร้อนวูบวาบ
 
1.
กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมี สารไอโซฟลาโวน(isoflavone) ซึ่งคล้ายเอสโตรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโตรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโตรเจนที่ขึ้นๆ ลงๆ ให้สมดุลกับโปรเจสเตอโรนด้วย
 
2.
กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย
 
3.
กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
 
4.
กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกาย นำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
 
5.
กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ 
วิตามินสำหรับวัยทอง
 
1.
วิตามินซีและฟลาโวนอยด์ ลดอาการวูบวาบ
 
2.
วิตามินอี ลดอาการร้อนวูบวาบและช่องคลอดแห้ง
 
3.
วิตามินเอ ลดอาการเบื่ออาหาร
 
4.
วิตามินบีรวมและแมกนีเซียม ลดอาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
 
5.
แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และช่วยป้องกันกระดูกพรุน
หมายเหตุ ควรปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ

สมุนไพรช่วยลดอาการวูบวาบ
 
1.
เปปเปอร์มินต์ ซึ่งมีสรรพคุณเย็น ใช้แก้อาการร้อนวูบวาบ โดยชงเป็นชาดื่มเป็นประจำ หรือพกพาชนิดเป็นน้ำมันติดตัว เมื่อมีอาการให้หยดประมาณ 2-3 หยด ลงบนทิชชู่ไว้สูดดม
 
2.
ชาโสม โดยใช้โสม 1-2 แว่น แช่น้ำร้อนประมาณ 10 นาที ดื่มแต่น้ำจะทำให้กระปรี้กระเปร่า และช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้
บำบัดอาการวูบวาบด้วยน้ำมันหอม
น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากอาการร้อนวูบวาบ ได้แก่ เนโรลิ (neroli) แซนดัลวูด (sandalwood) ลาเวนเดอร์ (lavender) แคลรีเสจ (clary sage) โรสออตโต (rose otto) และเจอราเนียม (geranium) โดยหยดน้ำมันแครีเสจ 3 หยด โรสออตโต และเจอราเนียมอย่างละ 2 หยด ลงในอ่างอาบน้ำทุกวัน หรือสูดดมไอระเหยจากน้ำมันลาเวนเดอร์สัก 2-3 หยด จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
Tip อาการวัยทองที่ควรไปพบแพทย์
 
1.
หากรอบเดือนเปลี่ยนแปลง ควรตรวจดูว่าเกี่ยวข้องกับภาวะหมดประจำเดือน หรือเพราะสาเหตุอื่น
 
2.
หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ หรือภาวะกระดูกพรุน
 
3.
หากรู้สึกทนไม่ได้กับอาการต่างๆ ที่รักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้วไม่ได้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น